เมนู

2. วิสารทสูตร


ว่าด้วยธรรมทำให้อุบาสกแกล้วกล้าและไม่แกล้วกล้า


[172] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสก
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้มี
ความแกล้วกล้าครองเรือนธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม
5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าครองเรือน.
จบวิสารทสูตรที่ 2

3. นิรยสูตร


ว่าด้วยธรรมทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์


[173] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็น
ผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เหมือนถูก
นำมาวางไว้ในนรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือน
ถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คืออุบาสกเป็นผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่
ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5
ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.
จบนิรยสูตรที่ 3

อุปาสกวรรควรรณนา ที่ 3


อรรถกถาสารัชชสูตรที่ 1 วิสารทสูตรที่ 2 นิรยสูตรที่ 3


สูตรที่ 1-2-3 แห่งอุปาสกวรรคที่ 3

ท่านกล่าวถึง อคาริยปฏิบัติ
(ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน.) แม้จะเป็นพระโสดาบัน และพระสกทาคามี
อคาริยปฏิบัติก็ย่อมควรทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1-2-3

4. เวรสูตร


ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ


[174] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกไม่ละภัยเวร 5 ประการ